Thursday, August 23, 2012

ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย 


คณะกรรมาธิการต่างประเทศ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลหลายต่อหลายครั้ง ได้มีการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกขน และภาคประชาชนต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย พบว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหารุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาต่างๆของภาครัฐ มีการใช้ความรุนแรงเข้าจัดการความขัดแย้งเพื่อผลักดันให้โครงการของรัฐ สามารถดำเนินต่อไปได้ โดยไม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ได้เชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทาง ผลประโยชน์ระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันปัญหาความขัดแย้งของการจัดสรรทรัพยากรในท้องถิ่นต่างๆนอกจากเป็น ปัญหาทางโครงสร้างในระดับชาติที่ไม่เอื้อให้ชุมชนจัดสรรทรัพยากรร่วมกัน อย่างยั่งยืนแล้ว ยังมีปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากกลุ่มอิทธิพลในท้องถิ่นอีกด้วย
การใช้ความรุนแรง การคุกคามโดยตรงต่อผู้ที่เคลื่อนไหว เรียกร้อง สิทธิมนุษยชนในปัจจุบันนั้น มักเริ่มต้นด้วยการข่มขู่ สร้างความหวาดกลัวในชีวิตและทรัพย์สิน หรือบางครั้งหน่วยงานของรัฐก็จะเลือกใช้กระบวนการกฎหมายเข้าจัดการ จับกุม ข่มขู่ หรือใช้กลไกอำนาจรัฐเข้าควบคุม เพื่อจำกัดการแสดงความคิดเห็นหรือการเคลื่อนไหวต่างๆจนในที่สุด ก้าวไปสู่การลอบสังหารหรือคุกคามการดำรงชีวิตของประชากร
การใช้กำลังคุกคามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน โดยการใช้กลไกและหน่วยงานภาครัฐ เช่นการรื้อไล่สมัชชาคนจนหน้าทำเนียบรัฐบาลที่ต่อสู้อย่างสันติตามวิธีตาม รัฐธรรมนูญ รวมทั้งมีการจับกุมแกนนำกลุ่ม เพื่อนำไปดำเนินคดี เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนทำให้สถานการณ์การเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน ในปัจจุบันสุ่มเสี่ยงมากขึ้น

การแพร่กระจายของโรคเอดส์

การแพร่กระจายของโรคเอดส์ 


โรคเอดส์ได้แพร่กระจายในประเทศไทยมากกว่าทศวรรษแล้ว โดยจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยเอดส์และผู้เสียชีวิตได้ทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการคาดประมาณว่า ภายในปี 2557 จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นถึง 4 ล้านคน มีผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเอดส์สะสมถึง 378,000 ราย (การคาดประมาณระดับต่ำ) ถึง 1,113,400 ราย (การคาดประมาณระดับสูง) และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตด้วยเอดส์สะสมประมาณ 126,000 รายถึง 378,000 ราย ซึ่งถ้าคิดจำนวนผู้ป่วยเอดส์เทียบกับจำนวนประชากรวัยแรงงาน สัดส่วนจะอยู่ระหว่าง ร้อยละ 0.9-2.7 ถ้าคำนึงถึงผลกระทบของการตายของประชากรด้วยโรคเอดส์ ก็จะพบว่าจะมีผลกรทบต่อขนาดประชากร คือทำให้ประชากรลดลงไปเกือบร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด หรือคิดเทียบเท่ากับประชากรวัยแรงงานก็จะทำให้ประชากรวัยแรงงานหายไปร้อยละ 0.8 นอกจากนี้ถ้าประชากรวัยแรงงานเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้และเป็นภาระต่อครอบ ครัวและสังคม ผลกระทบจะมีมากขึ้นอีกเพียงใดก็เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก อย่างไรก็ตามการคาดประมาณผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ ด้วยข้อสมมุติต่างๆ ก็ยังมีความแตกต่างกันไปตามข้อสมมุติฐานและฐานข้อมูลที่มีอยู่
ดังนั้นกลยุทธ์ในด้านการวางแผนครอบครัวยังคงต้องใช้เพื่อป้องกันการแพร่ กระจายของเชื้อเอดส์ และเพื่อลดจำนวนบุตร หรือเว้นระยะการมีบุตรของคู่สมรสที่ติดเชื้อเอดส์ โดยต้องมุ่งเน้นสู่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งนโยบายในด้านการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเย้ยให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่ กระจายเชื้อเอดส์ เป็นต้น

มะละกอจีเอ็มโอ

มะละกอจีเอ็มโอ

มะละกอจีเอ็มโอ นั้นเป็นมะละกอที่มีการตัดแต่งยีน (Genetically Modified Organisms: OMGs) ที่เรียกง่ายๆว่า จีเอ็มโอ อันเป็นเทคนิคทางด้านพันธุวิศวกรรมที่มีมานานพอสมควรแล้ว
มะละกอจีเอ็มโอ เกิดจาการตัดยีนจากไวรัสจุดด่างวงแหวนและยิงเข้าไปในเซลล์ของมะละกอ กระบวนการยิงยีนนี้เป็นการยิงอย่างสุ่มเสี่ยงด้วยปืนยิงยีนเป็นล้านๆครั้ง โดยหวังว่าคงมีสักครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง ยีนหลุดเข้าไปในเซลล์ของพืชได้สำเร็จ นอกจากยีนของไวรัสแล้ว ยังมียีนของแบคทรีเรียที่ต้านสารปฏิชีวนะด้วย ซึ่งหมายความว่าในยีนของมะละกอจะมียีนของสิ่งมีชีวิตอื่นที่ต่างสายพันธุ์ กันโดยสิ้นเชิงรวมอยู่ โดยที่ในสภาวะปกติตามธรรมชาติแล้วการผสมพันธุ์ในลักษณะนี้จะไม่มีโอกาสเกิด ขึ้น
เทคนิคดังกล่าว เชื่อว่าจะทำให้มะละกอต้านทานโรคจุดด่างวงแหวนได้ แต่ทว่าเรายังไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นได้เลย
สิ่งที่ตาม ก็คือ ปัญหา หากไทยมีการเปิดให้มีการทดลองปลูกในพื้นที่เปิดหรือในระดับไร่นา ประเทศไทยก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีจีเอ็มโอปนเปื้อน เราคงต้องเลือกระหว่างการผลิตและการส่งออกพืชและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการปน เปื้อน จีเอ็มโอ กับการปลอดจีเอ็มโอ นั่นเอง
ตัวอย่างของเรื่องราวที่เกี่ยวกับมะละกอจีเอ็มโอที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงข้อมูล ความคิด ความคิดเห็นส่วนหนึ่งที่จะว่าไปแล้วมิใช่แค่เรื่อง “มะละกอ” เพียงลำพัง แต่มันยังหมายถึง พืชชนิดอื่นๆสิ่งมีชีวิตอื่นๆวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนบนแผ่นดินนี้และโลกใบนี้



Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites